หมวดหมู่: สิ่งแวดล้อม

1aaaAกรมชลประทาน


สทนช. โชว์ผลศึกษา SEA เพิ่มปริมาณน้ำเสริมแกร่งเศรษฐกิจอันดามัน ฟื้นฟูการท่องเที่ยวตามนโยบายรัฐ

      สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)เผยผลการศึกษา SEA ประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ำ 11 จังหวัดลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก เพิ่มปริมาณน้ำอุปโภคบริโภค เสริมความแกร่งเศรษฐกิจฐานรากหนุนฟื้นฟูการท่องเที่ยว ตามนโยบายรัฐบาล พร้อมรับการบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูฝนนี้

       24 กรกฎาคม 2564 ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) แถลงข่าวผลการศึกษาโครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์และแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (Strategic Environmental Assessment : SEA) พื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก ว่า สทนช. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวรและกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ดำเนินการศึกษาโครงการฯ มาตั้งแต่กลางปี 2563 และจะดำเนินการแล้วเสร็จในปลายเดือนกรกฎาคม 2564 นี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการพัฒนาของลุ่มน้ำที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบหรือมีผลกระทบในระดับที่ยอมรับได้ และเป็นไปตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี พ.ศ.2561-2580 

       แนวทางการศึกษา ประกอบด้วย การจัดทำแผนหลักและแผนปฏิบัติการ ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่

       การจัดการน้ำอุปโภค-บริโภค 

       การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต

       การจัดการน้ำท่วม และบรรเทาอุทกภัย

       การจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ

       การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน

       และการบริหารจัดการโดยมีผลการศึกษาในประเด็นสำคัญที่แล้วเสร็จ อาทิ แผนงาน/โครงการที่เสนอ ทั้งจากภาครัฐและภาคประชาชน รวม 2,894 โครงการ ซึ่งจะทำให้มีปริมาณน้ำต้นทุนเพื่อการจัดการน้ำอุปโภคบริโภคและเสริมสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิตในพื้นที่เพิ่มขึ้น 1,218.33 ล้านลูกบาศก์เมตร และสามารถลดพื้นที่อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตกได้อีก 47,631 ไร่

      ปัจจุบันพื้นที่ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตกครอบคลุมพื้นที่ 11 จังหวัด โดยครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัดของจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล รวมทั้งครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดกระบี่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา

      ทั้งนี้จากผลการศึกษาในกระบวนการ SEA ซึ่งใช้เป็นกรอบในการขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่ (Area Based) สามารถสร้างความมั่นคงของทรัพยากรน้ำ เพื่อรองรับนโยบายด้านการท่องเที่ยวของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต  ที่ได้กำหนดให้มีการจัดทำแผนงานเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง

       เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า การศึกษาพื้นที่ต้นแบบด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับพื้นที่ที่เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคส่วนอื่นๆ ซึ่งมีต้นแบบความสำเร็จ คือ ที่จังหวัดตรังและจังหวัดกระบี่ โดยเฉพาะพื้นที่บ้านวังลำ ตำบลวังคีรี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ถือเป็นแหล่งต้นน้ำและชุมชนต้นแบบที่มีการบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วม

        ทั้งนี้ ในอดีตพื้นที่บ้านวังลำ มักประสบปัญหาน้ำมีไม่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคและการเพาะปลูก ทำให้คนในชุมชน ท้องถิ่นและภาครัฐได้หาแนวทางร่วมกันบริหารจัดการน้ำผ่านกลไกของการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีแหล่งน้ำที่สำคัญในพื้นที่คือ อ่างเก็บน้ำบ้านน้ำราบและโครงการอ่างเก็บน้ำสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

       ในส่วนของจังหวัดกระบี่ พื้นที่บ้านไร่ตะวันหวาน ตำบลดินแดง อำเภอลำทับ นับเป็นอีกหนึ่งชุมชนต้นแบบที่มีการบริหารจัดการน้ำร่วมกันกับท้องถิ่นและภาคเอกชน บนพื้นที่กว่า 600 ไร่ ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ในชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและมีการพัฒนาชุมชนให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สร้างรายได้ให้แก่คนในพื้นที่  โดยได้ก่อตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านไร่ตะวันหวาน 

      และเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ในการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นจังหวัดต้นแบบ ในขณะที่ปัญหาด้านน้ำอุปโภคบริโภคในกิจกรรมต่างๆในจังหวัดที่ผ่านมา ยังคงเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และมีค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการที่สูงมาก แต่เมื่อจังหวัดภูเก็ตต้องเป็นต้นแบบในการดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้เข้ามาท่องเที่ยวแล้ว การแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ จึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ในการรองรับกิจกรรมต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาและอุปสรรคกับการดำเนินนโยบายดังกล่าว ตัวอย่างเช่น

      1)การก่อสร้างสระน้ำแก้มลิงบ้านโคกโตนดพร้อมระบบผันน้ำไปยังอ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำรองในช่วงแล้งสำหรับประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง 

       2)โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายระบบประปาจากจังหวัดพังงาไปยังจังหวัดภูเก็ต

       3)การก่อสร้างระบบผลิตน้ำรีไซเคิล ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

        และ 4) การจัดหาน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในพื้นที่เกาะต่าง ๆ ด้วยเทคโนโลยีนำน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืด

      “การศึกษา SEA เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการจัดทำแผนหลักด้านน้ำ ที่ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ริเริ่มจัดทำเป็นมาตรฐานให้กับการพัฒนาด้านอื่นๆ ทั้งนี้ การดำเนินการศึกษาของ สทนช. ได้เสริมการวิเคราะห์ความต้องการของพื้นที่ การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อกำหนดเป้าหมาย วิธีการ และลำดับความสำคัญผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม ผลที่ได้รับคือ แผนหลักการบริหารลุ่มน้ำซึ่งจะต้องเสนอเข้าสู่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเพื่อการปรับปรุงเป็นแผนแม่บทน้ำของประเทศในปี 2565 ต่อไป อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้จนถึงเดือน ธันวาคมทุกจังหวัด ก็ยังสามารถจะเสนอแผนของตนไปยัง สทนช.ได้”เลขาธิการ สทนช. กล่าวในตอนท้าย

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!