หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV 4


ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย .. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย .. .... ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้

          ทั้งนี้ ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย .. .... เป็นการปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย .. 2536 เพื่อให้การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีความเหมาะสม สามารถสนองพระราชกระแสที่ให้มีการกลั่นกรองอย่างรัดกุม และยังคงสามารถรักษาไว้ซึ่งคุณค่าและเกียรติยศแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อย่างแท้จริง

          สาระสำคัญของร่างระเบียบฯ

          ปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย .. 2536 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน โดยพิจารณานำแนวทางการกลั่นกรองการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี 2563 มากำหนดเป็นหลักเกณฑ์ของร่างระเบียบฯ และการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ดังนี้

          1. กำหนดคุณสมบัติ คุณลักษณะ และลักษณะต้องห้าม ของผู้สมควรได้รับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เพิ่มเติมจากระเบียบฯ .. 2536 ดังนี้

                 1.1 เป็นผู้ปฏิบัติราชการหรือปฏิบัติงานที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ว่าเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชนจนถึงขนาดสมควรได้รับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ โดยพิจารณาผลการประเมินการปฏิบัติราชการหรือการปฏิบัติงานตามภารกิจที่กฎหมายกำหนด ซึ่งต้องมีผลการประเมินไม่ต่ำกว่าระดับดี

                 1.2 เป็นผู้มีความประพฤติดี มีความอุตสาหะ ซื่อสัตย์สุจริต เอาใจใส่ต่อหน้าที่อย่างดียิ่ง โดยต้องเป็นผู้ไม่อยู่ระหว่างถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ไม่อยู่ระหว่างถูกดำเนินคดีอาญา (เว้นแต่พนักงานอัยการรับแก้ต่างคดีนั้น) และไม่อยู่ระหว่างถูกไต่สวนหรือชี้มูลความผิดโดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

                 1.3 เป็นผู้มีทัศนคติที่ดีและจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

          2. ยกเลิกหลักเกณฑ์บางประการเพื่อให้มีความเหมาะสมกับหลักการกระทำความดีความชอบและไม่เกิดความเหลื่อมล้ำในระบบการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดังนี้

                 2.1 ยกเลิกอำนาจของคณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นกรณีพิเศษนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ของระเบียบฯ

                 2.2 ยกเลิกหลักเกณฑ์ที่ให้ขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายสูงขึ้นอีกหนึ่งชั้นตราในปีที่เกษียณอายุราชการ เนื่องจากไม่ได้สะท้อนผลงานหรือความดีความชอบที่สมควรได้รับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

                 2.3 ยกเลิกการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปีติดกันต่างบัญชีกัน เพิ่มเติมจากที่ระเบียบฯ ได้ห้ามการเสนอขอพระราชทานปีติดกันในบัญชีเดียวกันไว้แล้ว

          3. ปรับปรุงบัญชีการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่บุคคลต่างๆ จากเดิม 44 บัญชี เป็น 32 บัญชี และปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้มีความเหมาะสม ดังนี้

                 3.1 ยกเลิกบัญชีการเสนอขอพระราชทานให้แก่องคมนตรี ซึ่งตำแหน่งดังกล่าวได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นข้าราชการในพระองค์

                 3.2 ยกเลิกบัญชีการเสนอขอพระราชทานให้แก่สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เนื่องจากได้มีการยกเลิกกฎหมายว่าด้วยสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้ว

                 3.3 ยกเลิกบัญชีการเสนอขอพระราชทานให้แก่คู่สมรสของผู้ดำรงตำแหน่ง จำนวน 12 บัญชี

                 3.4 ยกเลิกบัญชีการเสนอขอพระราชทานให้แก่ข้าราชการที่จำแนกตำแหน่งเป็น 11 ระดับ (ระบบซี) และปรับปรุงบัญชีการเสนอขอพระราชทานให้แก่ข้าราชการที่จำแนกประเภทตำแหน่ง (ระบบแท่ง) ระดับเชี่ยวชาญและทักษะพิเศษให้ขอพระราชทานได้ถึงชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก (..) จากเดิมขอได้ถึงชั้นมหาวชิรมงกุฎ (...)

                 3.5 กำหนดบัญชีการเสนอขอพระราชทานให้แก่ข้าราชการขึ้นใหม่ประกอบด้วยกรณีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ร่างบัญชี 16) และกรณีข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น (ร่างบัญชี 17) ซึ่งมีการกำหนดตำแหน่งและระดับแตกต่างจากข้าราชการพลเรือนสามัญ

                 3.6 กำหนดบัญชีการขอพระราชทานให้แก่ผู้มีความดีความชอบดีเด่น เช่น เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเจ้าหน้าที่ผู้ทุพพลภาพจากการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งได้นำหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเสนอขอพระราชทานให้แก่เจ้าหน้าที่ดังกล่าวมากำหนดเป็นหลักการในระเบียบนี้ (ร่างบัญชี 31)

                 3.7 กำหนดตำแหน่งที่สมควรเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เกิดขึ้นใหม่ โดยเทียบเคียงกับตำแหน่งอื่นตามระเบียบฯ หรือมีตำแหน่งลักษณะเดียวกันอยู่ในบัญชีท้ายระเบียบฯ .. 2536 แล้ว เช่น ผู้แทนการค้าไทย ผู้ช่วยรัฐมนตรี ผู้ดำรงตำแหน่งในรัฐสภา ที่ปรึกษาและเลขานุการของผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

                 3.8 กำหนดให้ผู้บริหารและพนักงานของหน่วยธุรการขององค์การของรัฐที่เป็นอิสระ เช่น สำนักงาน กสทช. และธนาคารแห่งประเทศไทย เสนอขอพระราชทานตามเกณฑ์เดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งและสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งเป็นหน่วยธุรการขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นส่วนราชการ (ร่างบัญชี 28)

                 3.9 กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นข้าราชการ (พนักงานมหาวิทยาลัย) ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ขอพระราชทานได้ตามชั้นตราเดียวกับหลักเกณฑ์ของข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งเดียวกัน

                 3.10 กำหนดหลักเกณฑ์การเสนอขอพระราชทานให้แก่พระราชอาคันตุกะ แขกของรัฐบาล หรือชาวต่างประเทศ ที่กระทำคุณประโยชน์แก่ประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยให้กระทรวงการต่างประเทศและสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีร่วมกันพิจารณาความเหมาะสมของชั้นตรา

                 3.11 ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ดังนี้

                          (1) กรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และผู้ดำรงตำแหน่งในรัฐสภา ต้องดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 30 วัน 90 วัน หรือ 120 วัน นับแต่วันที่ดำรงตำแหน่ง จนถึงวันก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่ขอพระราชทาน แล้วแต่กรณี เพื่อให้มีระยะเวลากระทำความดีความชอบเพื่อประกอบการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ปัจจุบันไม่มีการกำหนดไว้)

                          (2) กรณีผู้ดำรงตำแหน่งในรัฐสภา ประกอบด้วย ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา และกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา กำหนดระยะเวลาดำรงตำแหน่งเพื่อขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราให้มีความเหมาะสม

                          (3) กรณีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กำหนดระยะเวลาดำรงตำแหน่งให้ขอพระราชทานเลื่อนชั้นตราทุก 2 ปี เพื่อให้มีความแตกต่างจากผู้ใต้บังคับบัญชาที่ดำรงตำแหน่งในระดับหรือชั้นยศเดียวกัน

                          (4) ผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หน่วยงานอื่นของรัฐ ที่ไม่มีฐานะเป็นพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ กำหนดให้ดำรงตำแหน่งมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ เพื่อให้สอดคล้องกับวาระการดำรงตำแหน่งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ปัจจุบันกำหนดเฉพาะกรณีผู้บริหารที่มีฐานะเป็นพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ ต้องเป็นพนักงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 ปีบริบูรณ์)

          4. ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานครื่องราชอิสริยาภรณ์ และกำหนดให้มีคณะกรรมการเพียงคณะเดียว

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 7 กันยายน 2564

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A9221

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!